ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone สำคัญอย่างไร

 

ภาวะฮอร์โมนเพศชาย Testosterone
สำคัญอย่างไร

สร้างกล้ามเนื้อและกระดูก
 

สนับสนุนข้อมูลโดย TestraX

ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone สำคัญอย่างไร

 
กระตุ้นองคชาตและความต้องการทางเพศ
 
เทสโทสเตอโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งผลิตจากอัณฑะ มีหน้าที่รักษาลักษณะความเป็นชายต่าง ๆ เช่น หนวดเครา น้ำเสียงทุ้ม รวมทั้งระดับความต้องการทางเพศ หากมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ความต้องการทางเพศอาจจะลดลง ซึ่งรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทน

 

เทสโทสเตอโรน มีหน้าที่ดังนี้

  • กระตุ้นให้องคชาตและอัณฑะเจริญเติบโตสมวัย
  • ช่วยลดน้ำเสียงเล็กแหลม ทำให้เพศชายมีเสียงทุ้มใหญ่ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
  • กระตุ้นการเติบโตและงอกของขนบนใบหน้าและบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
  • รักษาและผลิตการสร้างมวลกล้ามเนื้อ
  • รักษาและพัฒนาการสร้างมวลกระดูก
  • รักษาระดับความต้องการทางเพศให้เป็นปกติ
  • กระตุ้นให้เกิดการผลิตตัวอสุจิของอัณฑะ
  • กระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
 

โดยปกติ ระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย จะอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงราวปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังอายุย่างเข้าสู่วัย 30-40 ปี

อย่างไรก็ตาม ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดต่ำลงอาจเป็นเพราะวัยที่มากขึ้น หรือเป็นเพราะภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ ซึ่งเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของร่างกายก็ได้

ทั้งนี้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสามารถพบได้ในผู้หญิงเช่นกัน โดยผลิตจากรังไข่ ต่อมหมวกไต เซลล์ไขมัน และเซลล์ผิว เพียงแต่มีปริมาณต่ำกว่าที่ผลิตในผู้ชาย ในผู้หญิง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของรังไข่ การสร้างมวลกระดูก และกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ

09 สิงหาคม 2565

ผู้ชม 628 ครั้ง