ภาวะฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ต่ำ เป็นอย่างไร
ภาวะฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ต่ำ เป็นอย่างไร
ภาวะฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ต่ำ
เป็นอย่างไร

สนับสนุนข้อมูลโดย TestraX
ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ต่ำ เป็นอย่างไร

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ” เป็นภาวะที่เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติของร่างกาย อายุที่เพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เมื่อฮอร์โมนเพศต่ำลงจะส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตอย่างมาก
ภาวะพร่องฮอร์โมน มีลักษณะอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง และอาการที่เกิดขึ้นก็มีส่วนคล้ายกับโรค หรือความผิดปกตอื่นๆ ด้วย โดยอาการที่พบได้ในภาวะพร่องฮอร์โมน มีดังนี้
- สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน
- อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า
- ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร
- ขาดสมาธิในการทำงาน
- รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อ้วนลงพุง หรือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
- อวัยวะเพศชายยากที่จะแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน หรือที่เรียกว่า “นกเขาไม่ขัน”
- อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
- มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
- นอนไม่หลับ
- เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- มีมวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกลดลง
- มีระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หากคุณมีอาการในกลุ่มภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายโดยเฉพาะ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายนั้น จะใช้วิธีการเจาะเลือดส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์ ร่วมกับการซักประวัติสุขภาพ ทำแบบสอบถาม และตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป นอกจากนี้ยังอาจมีการอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากรวมด้ว ขึ้นอยู่กับรายการตรวจระดับฮอร์โมนของแต่ละโรงพยาบาล
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย มี 2 วิธีหลักๆ คือ
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
เป็นการลดปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างฮอร์โมนเพศชายได้ดีขึ้น มีรายละเอียดดังนี้ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานและของทอด เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ทำ 5 วัน ต่อสัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อย หรือมากจนเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดจนเกินไป
2. การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน
เป็นการให้ฮอร์โมนเพศชายเพื่อเสริมส่วนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น การคงสภาวะกระดูก กล้ามเนื้อ อารมณ์ ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ
09 สิงหาคม 2565
ผู้ชม 784 ครั้ง