ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone เสริมมวลกล้ามเนื้อ ฟิตหุ่น ปั้นกล้าม ทำอย่างไร
ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone เสริมมวลกล้ามเนื้อ ฟิตหุ่น ปั้นกล้าม ทำอย่างไร
ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone เสริมมวลกล้ามเนื้อ ฟิตหุ่น ปั้นกล้าม
ทำอย่างไร

สนับสนุนข้อมูลโดย TestraX
ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ต่ำ เป็นอย่างไร

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ” เป็นภาวะที่เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติของร่างกาย อายุที่เพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เมื่อฮอร์โมนเพศต่ำลงจะส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตอย่างมาก
ภาวะพร่องฮอร์โมน มีลักษณะอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง และอาการที่เกิดขึ้นก็มีส่วนคล้ายกับโรค หรือความผิดปกตอื่นๆ ด้วย โดยอาการที่พบได้ในภาวะพร่องฮอร์โมน มีดังนี้
- สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
- ความต้องการทางเพศลดลง
- ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน
- อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า
- ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร
- ขาดสมาธิในการทำงาน
- รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อ้วนลงพุง หรือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
- อวัยวะเพศชายยากที่จะแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน หรือที่เรียกว่า “นกเขาไม่ขัน”
- อัณฑะมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
- มีปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
- นอนไม่หลับ
- เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- มีมวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกลดลง
- มีระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หากคุณมีอาการในกลุ่มภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายโดยเฉพาะ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายนั้น จะใช้วิธีการเจาะเลือดส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์ ร่วมกับการซักประวัติสุขภาพ ทำแบบสอบถาม และตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป นอกจากนี้ยังอาจมีการอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากรวมด้ว ขึ้นอยู่กับรายการตรวจระดับฮอร์โมนของแต่ละโรงพยาบาล
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย สามารถรักษาได้ด้วยการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย มี 2 วิธีหลักๆ คือ
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
เป็นการลดปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างฮอร์โมนเพศชายได้ดีขึ้น มีรายละเอียดดังนี้ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวานและของทอด เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ทำ 5 วัน ต่อสัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่น้อย หรือมากจนเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดจนเกินไป
2. รักษาด้วยยา หรือที่เรียกว่า "การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน"
เป็นการให้ฮอร์โมนเพศชายเพื่อเสริมส่วนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น การคงสภาวะกระดูก กล้ามเนื้อ อารมณ์ ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ
09 สิงหาคม 2565
ผู้ชม 801 ครั้ง